เทคนิคการเขียนตารางควบคุมกรรมวิธีการผลิต Control Plan

เทคนิคการเขียนตารางควบคุมกรรมวิธีการผลิต Control Plan

หลักการและเหตุผล

ตารางควบคุมกรรมวิธีการผลิต “Control Plan” ถือเป็นเอกสารสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ใช้แสดงขั้นตอนโดยรวมของกระบวนการผลิต และผลสะท้อนขององค์กรว่าบรรลุถึงข้อกำหนดด้านคุณภาพ ต้นทุน การผลิต และการส่งมอบ

ซึ่งตามมาตรฐานข้อกำหนด IATF 16949 กำหนดให้มีขั้นตอนการควบคุม 3 ขั้นตอนคือ

1. Prototype Control Plan

2. Pre-Production / Pre-Lunch Control Plan

3. Mass Production Control Plan

Control Plan จะถูกจัดทำขึ้นหลังจากการวิเคราะห์ PFMEA เสร็จแล้ว หรือ Output PFMEA นั่นเอง ดังนั้นการเขียนหรือการจัดทำ Control Plan ต้องรวมถึงการระบุคุณลักษณะและคุณลักษณะพิเศษทั้งหมดด้วยวิธีการควบคุมที่เหมาะสม

หลักสูตรนี้จึงเหมาะกับผู้เรียนที่ไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจเกี่ยวกับหรือการจัดทำ Control Plan และพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำ Control Plan และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวางแผนเตรียมความพร้อมการตรวจติดตาม (Audit) จากลูกค้า

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการเขียนตารางกรรมวิธีควบคุมการผลิต (Control Plan)

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำข้อมูลจากข้อกำหนดลูกค้า Drawing และ PFMEA มาจัดทำเป็นตารางกรรมวิธีควบคุมการผลิต (Control Plan) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนเตรียมความพร้อมการตรวจติดตามจากลูกค้า

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการสัมมนา

· ความหมายและวัตถุประสงค์ของ Control Plan

· ประเภทของ Control Plan

· ส่วนประกอบของ Control Plan

· เทคนิคการอ่านแบบทางวิศวกรรม (Drawing)

- การกำหนดจุดตรวจวัด

- การกำหนดเครื่องมือวัด

- การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิต

· เทคนิคการอ่านค่าพิกัดความคลาดเคลื่อน GD&T

- การกำหนดจุดตรวจวัด

- การกำหนดเครื่องมือวัด

- การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิต

· เทคนิคการอ่าน Process Flow Diagram (PFD) และ PFMEA เพื่อนำมาเขียน Control plan

· วิธีการนำเอาข้อกำหนดของลูกค้าใส่ลงใน Control Plan

· การอ่านและการใช้ Control plan

· การกำหนด Product / Process characteristic and Classification

· การกำหนด Control Method

· การกำหนด Re-action Plan

· ขั้นตอนการเขียน Control Plan

· กิจกรรมกลุ่ม Work shop case study + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

· ถาม - ตอบ

ลักษณะการอบรม :

1. การบรรยายสื่อสาร 2 ทาง โดยทฤษฎี 30 % ปฏิบัติ 70 %

2. ทำ Workshop กิจกรรมกลุ่ม + นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย

Note : สอนจากประสบการณ์ในการทำงานจริง และการฝึกอบรมจากต่างประเทศ

ผู้ควรเข้ารับการอบรม

Ø ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมอื่นๆ

Ø วิศวกรทุกส่วนงาน,

Ø หัวหน้างาน QC/QA, R&D, New Model

Ø ช่างเทคนิค

Ø บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน

อาจารย์พิทักษ์ บุญชม

โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท 26

บุคคลทั่วไป ท่านละ 3,900 บาท

สมาชิก ท่านละ 3,500 บาท

ลงทะเบียน 3 ท่านขึ้นไป ท่านละ 3,200 บาท

ลงทะเบียน 5 ท่านขึ้นไป ท่านละ 2,900 บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%**

ตาราง/สถานที่

รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 พฤหัสบดีที่ 11 มิ.ย. 2020 09:00 - 16:00 น. โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท 26


ข้อมูลติดต่อ

ข้อมูลคอร์สเรียน

เพิ่มความรู้

Keywords

  • -

ติดต่อรวดเร็ว ไม่พลาด! ข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอพิเศษ คอร์สอบรม สัมมนา LINE Official Account

เพิ่มเพื่อน